วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2552

นิทาน **เรื่องผจญภัยในสวน**














เวลาเย็นก่อนกลับบ้าน น้องปุ๊กปิ๊กจะไปในสวนทักทายแม่นกกับลูกนกในรัง แล้วก็จะไปหาเพื่อนๆ
ปุ๊กปิ๊ก : เพื่อนๆ มาแล้ว (ไหนลองนับดูซิ) 1 2 3 4 เอ๊ะ!ทำไมมี สี่ตัวน่ะ กระต่าย เต่า นก แล้วนี้ตัวอะไรเนี่ย
กระต่าย : อ๋อๆ นี่ กระรอกเพื่อนเราเองแหละจ๊ะ
ปุ๊กปิ๊ก : ยินดีที่ได้รู้จักน่ะ กระรอก เราชื่อปุ๊กปิ๊กจ๊ะ
เต่า : วันนี้เราไปเที่ยวที่ไหนกันดีล่ะ
นก : เรารู้ๆ ไปกินแอปเปิ้ลกัน เมื่อเช้าแม่พาไปหาอาหาร เห็นต้นแอปเปิ้ลที่เราเคยไปเล่นกันมีลูกเต็มต้นเลยน่ะ
ปุ๊กปิ๊ก : ไปซิๆ ปุ๊กปิ๊กอยากไปจังเลยจ๊ะ
ปุ๊กปิ๊กและเพื่อนๆก็ออกเดินทางเที่ยวเล่น ไปยังต้นแอปเปิ้ล แต่เมื่อไปถึง….
เต่า : โอ้โห! แอปเปิ้ลเต็มต้นเลย
กระต่าย : แต่ว่าเราจะเอาแอปเปิ้ลกันยังไงดี อยู่สูงจังเลย
นก : จริงด้วย ถึงเราจะบินได้แต่ตัวเราเล็กกระจิดริด เอาแอปเปิ้ลเองไม่ได้หรอก
กระรอก : แต่เราปีนต้นไม้ได้นะ ถ้าเราช่วยกันกับนกก็คงพอเอาได้
กระต่าย : งั้นพวกเราที่เหลือจะไปหาใบไม้มารองรับน่ะ แอปเปิ้ลจะได้ไม่ช้ำไง
ปุ๊กปิ๊ก : เราไปหาไม้มา 3 อัน __ ____ ______ แต่ไม่เท่ากันเลยจะใช้อันไหนช่วยเขี่ยแอปเปิ้ลดีล่ะจ๊ะ
เต่า : งั้นก็ใช้ที่ไม้ที่ยาว _______ ที่สุดดีกว่าน่ะ จะได้เก็บถึงไง
เพื่อนๆ จึงเห็นด้วย หลังจากที่เก็บแอปเปิ้ลมาแล้ว ทุกคนก็ช่วยกันนับแอปเปิ้ลที่เก็บได้


โอ้โห!เก็บได้ตั้ง 10 ผล ทั้งหมดดีใจมากและแบ่งกันกินแอปเปิ้ลกันอย่างมีความสุข
****เรื่อง Cooking ไอศกรีมปั่นๆ****
ขั้นนำ
1. คุณครูถาม (ทบทวน) เด็กๆ ถึงที่เรียนเมื่อวาน
2. คุณครูถามเด็กๆ ถึงไอ ศกรีมที่เด็กๆชื่นชอบ และที่เด็กๆโหวต
3. คุณครูให้เด็กๆ เลือก “ ที่คาดหัว ” ที่คุณครูเตรียมไว้ โดยให้เด็กๆเลือกตามที่เด็กๆชอบ
4. คุณครูถามเด็กๆว่า เด็กๆลองทายดูซิค่ะ ว่าวันนี้ เราจะมาทำอะไรกัน
ขั้นสอน
1. คุณครูและเด็กๆ ร่วมกันสร้างข้อตกลงร่วมกัน ในการทำ Cooking
2. คุณครูถามเด็กๆ ว่าเด็กๆ รู้จักวัสดุ / อุปกรณ์อะไรบ้าง ที่อยู่ตรงหน้าคุณครู
3. คุณครูพูดคุยกับเด็กๆ ถึง วัสดุ / อุปกรณ์ ในการทำ
เช่น คุณครู ถือถ้วยที่ใส่น้ำแข็ง แล้วถามเด็กๆ ว่า
- เด็กๆรู้ไหมค่ะว่านี่คืออะไร / เด็กๆ เคยเห็นที่ไหนมาบ้างค่ะ
- เด็กๆคิดว่าน้ำแข็ง มันเป็นอย่างไรค่ะ / มีรสชาติอย่างไรค่ะ ฯลฯ
- เด็กๆคนไหนเคยทานบ้างค่ะ
4. คุณครูถามเด็กๆว่า เราจะนำอะไร ใส่ในเครื่องปั่นก่อนดีค่ะ เช่น
- เด็กๆคิดว่าเราจะ ใส่น้ำแข็งลงไปกี่แก้วดีค่ะ แต่เด็กๆ อย่าลืมนะค่ะว่าเราต้องใส่อย่างอื่นลงไปอีกด้วยน่ะค่ะ
- โอ้โห ไอศกรีมมีสีอะไรค่ะเนี่ย เด็กๆจะตักไอศกรีมใส่กี่ก้อนดีค่ะ / เพื่อนจะตักไอศกรีมแล้วเด็กๆช่วยกันนับพร้อมๆกันให้เพื่อนด้วยนะค่ะ
- ต่อไปเราจะใส่อะไรอีกดีค่ะ
- เอ.. ใครเป็นช็อกโกแลต ค่ะ ออกมาชิมซิค่ะว่ารสชาติเป็นอย่างไร
- ครูจะให้เด็กออกมาอีกคนนึงน่ะค่ะ ออกมาชิมสิค่ะ
- เราจะใส่ช็อกโกแลตที่ช้อนดีค่ะ
- เด็กๆต้องตักระวังๆนะค่ะ เพราะมันเป็นอย่างไรนะค่ะ
- แล้วเด็กๆจะใส่เท่าไรดีค่ะ
- ต่อไปใส่อะไรดีค่ะ
- วันนี้เรามีนมมาสองอย่างเลยจะใส่นมอันไหนก่อนดีเด็กๆช่วยบอกครูหน่อยค่ซีค่ะ
- นมอันนี้มันเป็นอย่างไรค่ะ
- เด็กๆคนไหนเคยทาน นมบ้าง
- แล้วรสชาตมันต่างกันไหมค่ะ
- แล้วเด็กๆ คิดว่าเราจะใส่วุ้นตอนไหนดีค่ะ
- เดี๋ยวครู จะเริ่มปั่นแล้วนะค่ะ เราจะปั่นนานเท่าไหรดี
- เด็กๆ ช่วยครูนับ 1-10 พร้อมกันนะค่ะ เริ่มเลยน่ะค่ะ
ขั้นสรุป
- ถ้าเราจะทำไอศกรีมปั่นๆ เราจะต้องใส่อะไรบ้างค่ะ
- เราจะต้องใส่เท่าไหร่ค่ะ
- แล้วเราจะต้องปั่นไอศกรีม จนเป็นอย่างไรเลยค่ะ
- แล้วเด็กๆคนไหนคิดว่า จะไปชวนคุณแม่ทำไอศกรีมปั่นๆบ้างค่ะ
- แล้วถ้าเด็กจะซื้อไอศกรีมจะซื้อที่ไหนได้บ้างแต่อย่าเพิ่งบอกคุณครูน่ะค่ะ เก็บไว้ก่อนน่ะค่ะ คุณครูจะถามเด็กๆพรุ่งนี้ให้เด็กๆไปสังเกตก่อนน่ะค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2552

เพลงนับเลข

มาเรามานับเลข นับเลข นับเลข เรามา
เรามานั่งนับเลข อ้า! 1.. 2.. 3.. 4 .. 5..
6.. 7.. 8.. 9.. 10.. (ซ้ำ)

วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2552

วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2551

การเรียน 18/12/51

หลักการสอนคณิตศาสตร์ : ครูปฐมวัยที่ดีต้องเข้าใจพัฒนาการของเด็ก และธรรมชาติของการเรียนรู้ของเด็ก

1. สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน
2. เปิดโอกาสให้เด็ก " พบคำตอบด้วยตนเอง "
3. มีเป้าหมาย มีการวางแผน
4. ใสใจ เรื่องการเรียนรู้ - ลำดับขั้นการพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็ก
5. ใช้วิธีจดบันทึกพฤติกรรมเพื่อใช้ในการวางแผนจัดกิจกรรม
6. ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์เดิมของเด็ก
7. รู้จักการใช้สถานการณ์ขณะนั้นให้เป็นประโยชน์
8. ใช้วิธีการสอดแทรกกับชีวิตจริง เพื่อสอนความคิดรวบยอด
9. ให้เด็กมีส่วนร่วมหรือปฏิบัติการจริงเกี่ยวกับตัวเลข
10. วางแผนส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ทั้งที่โรงเรียนและบ้านอย่างต่อเนื่อง
11. บันทึกปัญหาการเรียนรู้ของเด็กอย่างสม่ำเสมอ เพื่อแก้ไข-ปรับปรุง
12. ในคาบหนึ่งควรสอนเพียงความคิดรวบยอดเดียว
13. เน้นกระบวนการเล่นจากง่ายไปยาก
14. ครูสอนสัญลักษณ์ตัวเลขหรือเครื่องหมายเมื่อเด็กเข้าใจสิ่งนั้นแล้ว

การเตรียมความพร้อมเด็กให้เก่งคณิตศาสตร์ ต้องฝึกให้เด็กได้พัฒนาทางด้านสายตาก่อนเป็นอันดับแรก หากเด็กไม่สามารถใช้สายตาจำแนกแล้ว เด็กก็จะมีปัญหาด้านการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์

วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

เพลงลองนับดูซิ

ลองมองดูให้ดี ดูซิว่านี่อะไร
โอ้โห เจ้าหนอน ตัวใหญ่ นับดูไหมว่ามีกี่ตัว
หนึ่ง... สอง.... สาม สี่ ห้า
หก... เจ็ด.... แปด เก้า สิบ

*** สามารถเปลี่ยนจากหนอนเป็นสัตว์อื่นๆ หรือสิ่งอื่นๆได้ค่ะ***

ทฤษฏีพัฒนาการทางสติปัญญาและหลักในการสอน

ทฤษฏีของเพียเจต์
+ พัฒนาการของเด็กนั้น เป็นไปตามลำดับระยะพัฒนาทางชีววิทยาที่คงที่ซึ่งพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของ เพียเจต์ ได้ลำดับขั้นตามวัยต่างๆไว้ดังนี้
1. ขั้นรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส <0-2> เป็นขั้นพัฒนาการตวามคิดของเด็กวัยนี้ขึ้นอยู่กับการรับรู้และการกระทำ
- เด็กยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง ไม่เข้าใจความคิดเห็นของผู้อื่น

2. ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด <2-7>
- ขั้นก่อนเกิดความคิดรวบยอด {2-4 ปี}
- ขั้นการคิดด้วยความเข้าใจของตนเอง {4-7 ปี}

3. ภาษาและกระบวนการคิดของเด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่
*********************************************************************************
การจัดการเรียนการสอน
1. ต้องคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก และพัฒนาการด้านต่างๆ
2. ต้องมีการจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
3. การสอนต้องเป็นแบบรูปธรรม
4. เปิดโอกาสให้เด็กรับประสบการณ์ มีปฏิสัมพันธ์กับแวดล้อมรอบตัว
5. การสอนต้องสอนจากสิ่งที่เด็กคุ้นเคยก่อน
6. ในการสอน ครูควรสอนภาพรวมก่อน จึงจะแยกสอนทีล่ะส่วน
7. ให้ความสนใจและสังเกตเด็กอย่างใกล้ชิด
********************************************************************************
หลักการสอน
1. การจัดหมวดหมู่ : การจัดกลุ่มของสิ่งต่างๆโดยการใช้เกณฑ์
2. ความสัมพันธ์เกี่ยวกับระยะ : ระยะใกล้-ไกล สูง-ต่ำ
3.การเรียงลำดับ : จุดเริ่มต้นต้องเท่ากัน
4. ความสัมพันธ์เกี่ยวกับเวลา

คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

คณิตศาสตร์นั้นก็เป็นเรื่องใกล้ตัว และคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้นก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากอย่างที่เข้าใจ เพราะมันไม่ใช่เรื่องของการคำนวณ แต่มันคือการนำคณิตศาสตร์มาใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน
คณิตศาสตร์สำหรับเด็กอาจใช้ผ่านกิจกรรม คณิตศาสตร์ช่วยให้เด็กปรับตัวอยู่ในสังคม ในการใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างดี และทำให้เด็กเรียนรู้การแก้ปัญหาได้อย่างมีเหตุผล
### คณิตศาสตร์ ###
ช่วยให้เด็กรู้ รูปร่าง สี ขนาด น้ำหนัก ทรง ใกล้ ไกล จำแนกได้ เปรียบเทียบได้ ฯลฯ